เศรษฐกิจย่ำแย่-การแข่งขันที่เลยคำว่าดุเดือดไปแล้ว (สำหรับธุรกิจคลินิก ความงาม-ทันตกรรม)

เศรษฐกิจย่ำแย่ และ การแข่งขันที่โหดร้ายสำหรับคลินิกความงาม-ทันตกรรม

 

 

เศรษฐกิจย่ำแย่ & การแข่งขันที่โหดร้าย  

 

ธุรกิจหลายแห่งกำลังล้ม คนทั่วไปหรือลูกค้า ไม่มีความมั่นใจกับเศรษฐกิจ-การเงินของเค้า เค้าจะกลับมาตัดสินใจใหม่ และเรียงลำดับความสำคัญในชีวิตของเค้า ว่าที่มันต้องจ่ายมันคืออะไรกันแน่..ซึ่งหนีไม่พ้น (ปัจจัย 4)

 

รวมถึงการแข่งขันในตลาด healthcare ที่เคยดุเดือด  ทำให้ ณ เวลานี้ ผู้คน เจ้าของกิจการ รวมถึงคู่แข่งกำลังรัดเข็มขัด และการแข่งขันที่เคยหนักหน่วง ก็กำลังลดลงอย่างมาก มันเป็นช่วงเวลาที่  คนที่ทำธุรกิจที่ยังมีกระแสเงินสดที่ดีอยู่จะยังมีโอกาสที่จะยึดหัวหาดทางธุรกิจเอาไว้ให้ได้  และเมื่อตอนเศรษฐกิจกลับมาดี คู่แข่งเราก็จะตามเราได้ยาก 

 

ฉะนั้น…เวลานี้เป็นเวลาที่จะไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้ จะทำก็มีความเสี่ยงสูงมันเป็นช่วงเวลา ที่ต้องระดมมันสมอง จัดสรรทรัพยากร (ไม่ใช่ตัดงบหรือลงทุนผิด) รวมถึง พัฒนาศักยภาพขององค์กรอย่างแท้จริง..ฮึบ!  โดยเฉพาะคลินิกที่มีกระแสเงินสดยังที่ยังดีอยู่ 

 

หัวใจของการมาหาหมอ คือ ลูกค้าต้องการได้รับการแก้ปัญหา รวมถึง ดูแลรักษาป้องกันปัญหาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่คลินิก และที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือความยั่งยืนของธุรกิจ healthcare

 

การรักษาดูแลต่อเนื่องแบบ home use จึงเข้าข่ายว่าทำไมคลินิกหรือทันตแพทย์ ถึงต้องมีผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของตนเอง

 

1. คนเอเชียมีความเชื่อถือและนับถือต่อหมอที่รักษา  ธุรกิจกลุ่มการแพทย์นี้จะได้เปรียบมากกว่าธุรกิจอื่น  (ไม่ควรปล่อยให้โอกาสทางธุรกิจนี้หายไป)  การมีผลิตภัณฑ์ที่ดูแลสุขภาพลูกค้า ถือเป็นภาระกิจสำคัญเพื่อให้จดจำแบรนด์ของเรา รวมทั้งได้รับการทรีตเมนต์ต่อเนื่อง สร้างความผูกพันทางการรักษา

 

(แต่เท่าที่สำรวจตลาด สินค้ากลุ่ม oralcare เจ้าของแบรนด์คือกลุ่ม บุคคลทั่วไป ไม่ใช่แพทย์หรือคลินิก) 

 

2.  หัวใจ-คุณค่าของการรักษา-ป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการเกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต (preventive care) คือประโยชน์สูงสุดของคนไข้-ลูกค้า 

 

3. กว่าจะเป็นหมอได้ ใช้ความอุตส่าห์และเวลาเป็นอย่างมาก แต่พอเวลาจบมาแล้วเราทำการรักษาคนไข้ และจ่ายยากลับบ้าน  กลับพบว่า เราต้องบอกลูกค้าให้ไปซื้อสินค้าดูแลช่องปาก หรือครีมกันแดดที่เค้าต้องใช้ทุกวันไปตลอด กับแบรนด์อื่นๆ คีย์คือสินค้าที่ใช้ทุกวันและใช้ไปตลอด (ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียโอกาสทางธุรกิจมาก)

 

4. สินค้าเปรียบเสมือนมีหน้าร้านทำเลดีอยู่ใกล้ตัวลูกค้า   และอาจเป็นระบบหลังบ้านดูแลลูกค้า ขณะที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ลูกค้าก็จะนึกถึงว่า หมอนัดอีกเมื่อไหร่  หมอสอนเราว่าอะไร  ห้ามทำอะไร  ปฏิบัติตัวอย่างไร      ตัวผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์เรา ช่วยเพิ่มช่องทางการขาย  เพราะเรามีลูกค้าของเราอยู่แล้ว ลงทุนไม่มาก เหมือนการเพิ่มคลินิกสาขา ที่มีการลงทุนสูง โดยเฉพาะทำเลดีๆ ยังไม่รวมถึง ค่าแจ้งแพทย์ ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงาน 

 

+++ส่วนการโฆษณาในแพลตฟอร์มต่างๆ คือช่องทางการสื่อสารคลินิกเท่านั้น  และผลลัพธ์มันไม่เหมือนในอดีต  มันต้องใช้เม็ดเงินมากกว่าในอดีตมากแต่ได้ลูกค่าเท่าเดิมหรือน้อยลง+++

 

การตลาดคลินิกเป็นชนิด LOCAL (ในพื้นที่) เราคงไม่ยิงแอดไปหาลูกค้าเชียงใหม่เพื่อบินมาเราซื้อคอร์สทำทรีตเมนต์ที่คลินิกเรา ยกเว้นเราจะเป็นคลินิกเฉพาะทางพิเศษมากๆ ฉะนั้นการตลาดคลินิกคือการตลาดแบบ LOCAL การบอกต่อมันเป็นการการตลาดที่ยั่งยืนและไม่ใช่การตลาดแบบฉาบฉวย 

 

5. การมาถึงพร้อมของวัตถุดิบ , know how และเทคโนโลยีจากทั่วโลกของผลิตภัณฑ์ Skincare , Dentalcare มาถึงยุคที่เรียกว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียได้แล้ว 

 

ในอนาคตอันใกล้ : อุตสาหกรรม healthcare ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม-ความงาม (preventive care products) และนวัตกรรมของ molecular medicine , genomic medicine เพื่อป้องกันก่อนเกิดโรคจึงเป็นอนาคตของอุตสาหกรรม healthcare 

 

พูดถึงข้อดีในการสร้างแบรนด์เป็นของตนเองแล้ว แล้วข้อเสียคืออะไร

ถึงแม้จะมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจที่มากกว่า ธุรกิจอื่น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงรออยู่  

มันคือ : แบรนด์คือสิ่งทั้งหมดที่ลูกค้าได้สัมผัสจากเรา  เพราะสุดท้ายแล้ว การดูแลรักษา-บริการ  ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพต่างๆ รวมถึงความคุ้มค่า หรือความสะอาด-วิธีการจัดร้าน รวมถึงนิสัยของ หมอหรือพนักงาน และอื่นๆ จะต้องทำให้เกิดความติดตาตรึงใจของลูกค้า (ประทับใจ) มันไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

 

การที่มีการบริการดี หรือสินค้าที่ดีเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีปัจจัยบวกในด้านอื่น จึงรอดยาก ณ เวลานี้

เหตุผลนี้จึงบอกตั้งแต่ต้นว่า ณ เวลานี้  จึงเป็นเวลาที่เจ้าของคลินิก ต้องระดมมันสมอง จัดสรรทรัพยากร และ พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างแท้จริง

 

มาถึงส่วนสุดท้าย : 

 

1. เจ้าของคลินิกที่เป็นแพทย์-ทันตแพทย์จะมีโอกาสรอดสูงกว่าเจ้าของคลินิกที่เป็นบุคคลทั่วไปมาก 

2. สิ่งที่เราขายอยู่ ไม่ว่าจะเป็น บริการ-ผลิตภัณฑ์ อยู่ในเทรนด์ของโลกอนาคตหรือไม่?

3. เราอยู่ในยุคที่ Ai นำมาใช้พูดคุยกับคนไข้แทนหมอแล้ว การ disrupt ครั้งใหญ่และเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือ ซึนามิของการเปลี่ยนแปลง เราจะดำเนินการจัดการธุรกิจเรา ด้วยวิธีเดิมหรือไม่? (Zombie company คือธุรกิจที่ดูเหมือนไม่ตาย แต่จริงๆตายแล้ว และก็ไม่สามารถโตต่อได้ น่าจะเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

 

 

ข้อมูลจาก : 

นพ.สาธิต ดำรงสกุล เจ้าของโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์-เครื่องสำอาง-สินค้าทันตกรรม

รวบรวมข้อมูลดีๆ จาก youtube i am Joe Jitnarin นักการตลาดเชิงกลยุทธ์

 
 
 
คลิ้กเพื่อดู MONEY CHANNEL : 
ตุลาอาถรรพณ์!! เดินหน้าสู่เศรษฐกิจ 
ตกต่ำครั้งใหญ่ 
 
 
 
เพื่อสิทธิพิเศษ สำหรับแพทย์-ทันตแพทย์ ที่ต้องการปรึกษาการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน กรุณาพิมพ์ชื่อและคำนำหน้า นพ.  พญ.  ทพ.  ทพญ. ของท่านให้เราทราบ
 
         
                                           
 
 

 

                                                                   

 
Visitors: 62,618